Powered By Blogger

กิจกรรม15 พฤศจิกายน 2553

>>> ส่งงาน <<<



อธิบายข้อสอบ
 สายใยอาหาร (Food Web)
   หมายถึง ห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความคาบเกี่ยวหรือสัมพันธ์กัน   นั่นคือ ในธรรมชาติการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในโซ่อาหาร จะมีความซับซ้อนกันมากขึ้น คือ มีการกินกันอย่างไม่เป็นระเบียบ
ตัวอย่าง เช่น
  จากแผนภาพสายใยอาหารด้านบน  จะสังเกตเห็นได้ว่า   ต้นข้าวที่เป็น  ผู้ผลิตในระบบนิเวศน์นั้น สามารถถูกสัตว์หลายประเภทบริโภคได้ คือ มีทั้ง วัว ตั๊กแตน ไก่ และ ผึ้ง  และ สัตว์ที่เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เหล่านั้น ก็สามารถจะเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น และ ยังเป็นผู้บริโภคสัตว์อื่น ได้เช่นกัน  อาทิเช่น ไก่  สามารถจะบริโภคตั๊กแตนได้ และในขณะเดียวกัน ไก่ก็มีโอกาสที่จะถูกงู บริโภคได้เช่นกัน

.
อธิบายข้อสอบ
การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"
ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง

 ความเข้มของแสง

ถ้ามีความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังกราฟ อุณหภูมิกับความเข้มของแสง มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกัน คือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ความเข้มของแสงน้อยจะไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขีดหนึ่งแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เพิ่มขึ้นและยังขึ้นอยู่กับชนิดของพืชอีกด้วยเช่น พืช c3และ พืช c4
โดยปกติ ถ้าไม่คิดถึงปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชส่วนใหญ่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 0-35 °C หรือ 0-40 °C ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม และการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้น เรื่องของอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล
ถ้าความเข้มของแสงวีดีน้อยมาก จนทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นน้อยกว่ากระบวนการหายใจ น้ำตาลถูกใช้หมดไป พืชจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น (คุณภาพ) ของแสง และช่วงเวลาที่ได้รับ เช่น ถ้าพืชได้รับแสงนานจะมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น แต่ถ้าพืชได้แสงที่มีความเข้มมากๆ ในเวลานานเกินไป จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงัก หรือหยุดลงได้ทั้งนี้เพราะคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ออกซิเจนที่เกิดขึ้นแทนที่จะออกสู่บรรยากาศภายนอก พืชกลับนำไปออกซิไดส์ส่วนประกอบและสารอาหารต่างๆภายในเซลล์ รวมทั้งคลอฟิลล์ทำให้สีของคลอโรฟิลล์จางลง ประสิทธิภาพของคลอโรฟิลล์และเอนไซม์เสื่อมลง ทำให้การสร้างน้ำตาลลดลง

ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์

ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่มีในอากาศ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงระดับหนึ่งถึงแม้ว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้น แต่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากว่าพืชได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าระดับน้ำแล้วเป็นเวลานานๆ จะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดต่ำลงได้ ดังกราฟ
คาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ความเข้มข้นสูงขึ้น แต่ความเข้มของแสงน้อย และอุณหภูมิของอากาศก็ต่ำ กรณีเช่นนี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นสูงขึ้น ความเข้มของแสงและอุณหภูมิของอากาศก็เพิ่มขึ้น กรณีเช่นนี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มากๆ แล้วให้ คาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอกออกผลเร็ว และออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้

 อุณหภูมิ

อุณหภูมิ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยทั่วไปอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 10-35 °C ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงวีดีจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิสูงๆ ยังขึ้นอยู่กับเวลาอีกปัจจัยหนึ่งด้วย กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิสูงคงที่ เช่น ที่ 40 °C อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะ ถ้าสูงเกิน 40 °C เอนไซม์จะเสื่อมสภาพทำให้การทำงานของเอนไซม์ชะงักลง ดังนั้นอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์แสงด้วย เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์มอเคมิคอล (Thermochemical reaction)

 ออกซิเจน

ตามปกติในอากาศจะมีปริมาณของออกซิเจน (O2) ประมาณ 25% ซึ่งมักคงที่อยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนลดลงจะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของสารต่างๆ ภายในเซลล์ โดยเป็นผลจากพลังงานแสง (Photorespiration) รุนแรงขึ้น การสังเคราะห์ด้วยแสงจึงลดลง

น้ำ

น้ำ ถือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (แต่ต้องการประมาณ 1% เท่านั้น จึงไม่สำคัญมากนักเพราะพืชมีน้ำอยู่ภายในเซลล์อย่างเพียงพอ) อิทธิพลของน้ำมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทางอ้อม คือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ให้ดีขึ้น

 เกลือแร่

ธาตุแมกนีเซียม (Mg) , และไนโตรเจน (N) ของเกลือในดิน มีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เพราะธาตุดังกล่าวเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ดังนั้น ถ้าในดินขาดธาตุทั้งสอง พืชก็จะขาดคลอโรฟิลล์ ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าเหล็ก (Fe) จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และโปรตีนไซโตโครม (ตัวรับและถ่ายทอดอิเล็กตรอน) ถ้าไม่มีธาตุเหล็กในดินเพียงพอ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้และ ฟอสฟอรัสอีกด้วย

 อายุของใบ

ใบจะต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ทั้งนี้เพราะในใบอ่อนคลอโรฟิลล์ยังเจริญไม่เต็มที่ ส่วนใบที่แก่มากๆ คลอโรฟิลล์จะสลายตัวไปเป็นจำนวนมาก

สมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสง

สรุปสมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียวเป็นดังนี้ :
nCO2 + 2nH2O + พลังงานแสง → (CH2O)n + nO2 + nH2O
น้ำตาลเฮกโซส และ แป้ง เป็นผลผลิตขั้นต้นดังสมการดังต่อไปนี้:
6CO2 + 12H2O + พลังงานแสง → C6H12O6 + 6O2 + 6H2O
การสังเคราะห์ด้วยแสงแบ่งเป็น 2 ปฏิกิริยาคือ
อธิบายข้อสอบ
การทำลายโอโซนในบรรยากาศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สังเกตพบว่าชั้นโอโซนในบรรยากาศที่ปกคลุมโลกมีความหนาลดลงไปมากการทำลายโอโซน (ozone depletion) ในบรรยากาศกำลังขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ในบางบริเวร เช่น เหนือทวีปแอนตาร์กติกา พบว่าชั้นโอโซนในบรรยากาศมีความบางกว่าชั้นโอโซนบริเวณอื่นๆอย่างมาก ดังภาพ 1.29

ภาพ 1.29 รอยรั่วของโอโซนในบรรยากาศเหนือทวีปแอนตาร์กติกา
การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศจะส่งผลให้รังสีอัตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ส่งผ่านมายังโลกได้มากขึ้น รังสีอัตราไวโอเล็ตชนิด UV- C มีพลังงานมากที่สุดและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนโลก เช่น ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งเรตินาเกิดต้อกระจก ระบบภูมิคุ้มกันและสารพันธุกรรมถูกทำลาย พืชเจริญเติบโตช้าลง วัสดุต่างๆ ที่ทำจากสารสังเคราะห์จะแตกหักเสียหายง่าย สีซีดจางลง
นักวิทยาสาสตร์พบว่าสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) เป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายโอโซนจึงมีความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายโอโซน โดยลดการใช้ CFCs ในบรรจุภัณฑ์แบบฉีดพ่น และเลิกใช้ CFCs เป็นสารทำความเย็นในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
 นักเรียนจะมีส่วนช่วยในการลดปริมาณการใช้สาร CFCs ได้อย่างไร
เมื่อวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก จะพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของประชากรมนุษย์แต่ละคน ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงควรเริ่มจากระดับบุคคลไปสู่การสร้างความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นรวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโลก และวัฏจักรของสารต่างๆ ที่หมุนเวียนบนโลกที่สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุดและสร้างความร่วมมือในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
 ในท้องถิ่นของนักเรียนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดอะไรบ้าง นักเรียนจะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว หรือพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างไร
อธิบายข้อสอบ
แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ
  • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
  • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's stain) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
  • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
    • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
    • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
    • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี
แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ เอ็นโดสปอร์ทำลายยาก บางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี
ยีสต์ หรือ ส่าเหล้า (อังกฤษ: yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้
ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงกับมีผู้กล่าวว่า ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ชนิดแรกที่มนุษย์นำมาใช้ รายงานแรกเกี่ยวกับการใช้ยีสต์ คือการผลิตเบียร์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Boozah เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากยีสต์มาเป็นเวลานาน เช่นในการทำอาหารหมักบางชนิด ได้แก่ ข้าวหมาก ปลาแจ่ว เครื่องดองของเมาหลายชนิดเช่น อุ สาโท และกระแช่ เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เป็นต้นว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชนิดต่างๆเช่น เบียร์ ไวน์ และวิสกี้ การผลิตเอธิลแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นสารเคมี และเชื้อเพลิง การผลิตเซลล์ยีสต์ เพื่อใช้เป็นยีสต์ขนมปังและเป็นโปรตีนเซลล์เดียว
ราบางประเภทสามารถนำมาใช้ในการผลิตสุราได้แต่ราบางชนิดที่เพาะมาเป็นพิเศษ ก็เป็นราที่ผลิตมาเพื่อการค้าและมีลิขสิทธิ์เฉพาะ เช่นรา คาลสเบิร์กโนเจนซิส เป็นราลิขสิทธิ์ที่ใช้ในการผลิตเบียร์ คาลสเบริ์ก
การผลิตยีสต์ที่ได้คุณภาพจะต้องผ่านการรับรองจากสถาบัน Leco ถึงจะสามารถบรรจุวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตของยุโรปเช่น ร้าน Hermes และ Struers ได้
ยีสต์ มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และแอลกอฮอล์ได้ โดยหลักการทำงานของยีสต์ หรือ "เบเกอร์ ยีสต์" (Baker yeast) ที่ใส่ให้ขนมปังฟู เนื่องมาจากยีสต์ที่ใส่ลงไปมีการใช้น้ำตาลในแป้งขนมปัง หรือที่เรียกกันว่า "โด" (dough) เป็นอาหาร และระหว่างที่มันกินอาหารมันก็จะหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป และหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา และเมื่อเราเอาแป้งไปอบ ก๊าซที่มันคายออกมาก็ผุดขึ้นมาระหว่างเนื้อขนมปังทำให้เกิดรูพรุนจนฟูขึ้นมา
ส่วนพวก "บริวเวอร์ ยีสต์" (Brewer yeast) ซึ่งเป็นยีสต์ที่นำมาหมักทำเบียร์และไวน์ มีรสชาติค่อนข้างรุนแรง บริวเวอร์ยีสต์ ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารมากมีกรดอะมิโน16ชนิด เกลือแร่14ชนิด วิตามิน17ชนิด นอกจากนี้ยังมีเกลือแร่สูง คือ โครเมี่ยม สังกะสี เหล็ก ฟอสฟอรัส และเซเลเนียม อีกทั้งบริวเวอร์ยีนยังเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนถึง16กรัมต่อปริมาตรยีสต์30กรัม มีมากถึง 50%-55%
เห็ดรา (อังกฤษ: Fungus,Fungi) คือสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง เดิมเคยจัดอยู่อาณาจักรเดียวกับพืช แต่ปัจจุบันจัดอยู่ใน อาณาจักรเห็ดราหรือฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นเซลล์ยูแคริโอต (eukaryote) พบได้ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เส้นใย และ ดอกเห็ด ไม่มีคลอโรฟิลล์ ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนจนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดซึมเข้าเซลล์ (saprophyte)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์

การจัดจำแนก

แบ่งตามไฟลัมได้ 4 ไฟลัมคือ
  • Chytridiomycota หรือไคทริด เป็นพวกที่มี แฟลกเจลล่า เป็นราที่มีการสร้างสปอร์ที่มีแฟลกเจลเลต มักอยู่ร่วมกัน กับ สาหร่าย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ จัดเป็นราที่โบราณที่สุด พบตามพืชน้ำที่ตายแล้ว หรือตามเศษหินเศษทรายในน้ำ เป็นปรสิตในพืชน้ำและสัตว์ เช่น Batrachochytrium เป็นปรสิตในกบ
  • Zygomycota หรือไซโกต ฟังไจ เป็นพวกที่อาศัยอยู่บนดิน เช่น ราดำ บางชนิดก่อให้เกิดโรคราสนิม บางชนิดใช้ผลิตกรดฟูมาลิก Rhizopus nigricans มีการสร้างไซโกสปอร์จากเซลล์ใหม่ที่เกิดจากการปฏิสนธิ ตัวอย่างเช่น ราขนมปัง เมื่อสายของราที่ต่างกันมาพบกัน จะเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการรวมของนิวเคลียสได้เป็น ไซโกสปอร์ (2n) ส่วนที่เป็นไซโกสปอร์นี้จะเป็นระยะพักของรามีผนังหนาเป็นสีดำ เมื่อสภาวะเหมาะสมไซโกสปอร์จะงอก และสร้างส่วนที่เรียกว่าสปอแรงเกีย (sporangia) ซึ่งจะเกิดการแบ่งตัวแบบไมโอซิส สร้างสปอร์ที่เป็น n เมื่อสปอร์นี้งอกจะได้เส้นใยที่มีนิวเคลียสเป็นแฮพลอยด์ต่อไป
  • Ascomycota หรือ แซค ฟังไจ เป็นฟังไจที่พบมากที่สุด โดยส่วนใหญ่พวกหลายเซลล์ในกลุ่มนี้ เป็นเห็ดที่มีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในถุง แอสคัส ภายในมี แอสโคสปอร์ เช่น ยีสต์(yeast)
  • Basidiomycota หรือคลับ ฟังไจ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ บนอวัยวะที่คล้ายกระบอง(Basidium) ภายในมี Basidiospore เป็นราที่ผลิตบาสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งจะงอกเป็นสายที่เป็นแฮพลอยด์ เรียก primary mycelium จากนั้นผนังของไมซีเลียมจะมารวมกันได้เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสสองอัน แต่ละอันเป็น n เรียกว่าไดคาริโอต (dikaryote) เส้นใยที่เป็นไดคาริโอตนี้จะรวมกันเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือ tertiary mycelium ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าดอกเห็ด เมื่อจะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ นิวเคลียสทั้งสองอันรวมเข้าเป็น 2n จากนั้นจึงแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์อีก ส่วนใหญ่เป็นเห็ดทั้งที่กินได้และเป็นพิษสามารถกินได้ เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า


อธิบายข้อสอบ


                เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
               
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall )
เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสาร
เคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวก
ไกลโคโปรตีน
(Glycoprotein) 
เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้
เซลล์คงรูปร่างได้


                2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบาง
อย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ
(Semipermeable Membrane)


               
3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้

3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
               
3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast)
เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียว
เพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสง

3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
               
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex)
เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การแบ่งเซลล์

3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสาร
พวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด
เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
                นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบ
ของนิวเคลียสมีดังนี้

               
4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
               
4.2 ร่างแหนิวเคลียส
มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียส
จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย
DNA หรือยีน (gene)
ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุม
การแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
               
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA
TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน


อธิบายข้อสอบการออสโมซิสของน้ำในสภาพความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ

           จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยกระบวนการออสโมซิส
พบว่า เมื่อนำ เซลล์เม็ดเลือดแดงไปใส่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างๆ
แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)


          หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่
เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
         สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %
2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)
      
         หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis

        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
         ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
3. สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)


          หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis


           ในเซลล์พืชจะทำให้โพรโทพลาซึมหดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์
แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์






อธิบายข้อสอบ
กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารอยู่ทางด้านซ้ายของด่านล่างใต้กระบังลม
กระเพาะอาหารอยู่ทางด้านซ้ายของด้านล่างใต้กระบังลม ในสภาพไม่มีอาหารบรรจุอยู่มีปริมาตรเพียง 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่ออาหารจะขยายได้ถึง 10 - 40 เท่า แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ฟันดัส ( Fundus) เป็นส่วนที่เป็นรูปโดมคล้ายบอลลูนนูนขึ้น บอดี้ ( Body) เป็นส่วนตรงกลางของกระเพาะอาหาร อยู่ติดต่อกับลำไส้
กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter muscle) กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ
       - Cardiac sphincter เป็นกล้ามเนิ้อคล้ายหูรูดส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร ป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะเคลื่อนที่ย้ายกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร
       - Pyloric sphincter เป็นกล้ามเนื้อหูรูดที่ติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น ป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป
ผนังของกระเพาะอาหาร
ผนังของกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อเรียบตามยาว ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อวงตามขวางและชั้นในสุดเป็นกล้ามเนื้อที่วิ่งทะแยงในขณะที่ไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร เยื่อชั้นใน ( Mucousmembrane ) จะพับซ้อนไปมาเป็นรอยจีบย่นตามยาวมากมายเรียกว่า  รูกี ( Rugae) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่ผิวในขณะกระเพาะอาหารขยายตัว ( กระเพาะอาหารไม่มี villus )
ภายในกระเพาะอาหารมีกลุ่มเซลล์ต่อมภายในกระเพาะอาหารมีกลุ่มเซลล็ทึ่สำคัญ 4 ชนิด
- Mucous cell ทำหน้าที่ สร้างน้ำเมือก มีฤทธิ์เป็นเบสไปฉาบผิวของกระเพาะไม่ให้เป็นอันตราย
      - Parietal cell หรือ ออกซินติก เซลล์ ( Oxyntic cell ) สร้างกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
      - Chief cell หรือ ไซโกมาติก เซลล์ ( Zygomatic cell ) สร้าง มี 3 ชนิด
          (1) pepsinogen ( Inactive )
          (2) prorennin ( Inactive )
          (3) gastric lipase
หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหาร มี 4 ประการ คือ        - เป็นที่เก็บอาหารรอการย่อย
        - เป็นอวัยวะย่อยอาหาร
        - ลำเลียงอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กในอัตราที่พอเหมาะ
        - ให้สารที่เรียกว่า Intrinsic factor ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน B12 สำหรับใช้ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง
        - ดูดซึม B12 , ยา , alcohol

การอาเจียน เกิดจากการหดตัวอย่างรวดเร็วของ กระบังลม และ เกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างรุนแรงทำให้ปริมาณช่องท้องลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้ความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็วแต่ผิดจังหวะ เพราะหลอดลมเปิดอยู่มีกรดHCl ออกมาพร้อมกันอาจเป็นเพราะได้กลิ่นหรือเห็นภาพไม่พึงประสงค์,การกระแทกอย่างรุนแรง
การที่เนื้อเยื่อด้านในของกระเพาะอาหารไม่ถูกเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริกทำลาย เนื่องจาก +


     1. มีสารเมือกที่มีทธิ์เป็นเบสเคลือบผนังกระเพาะช่วยป้องกันได้

     2. เยื่อบุกระเพาะมีการแบ่งเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนพวกที่อาจถูกทำลายไป แต่อย่างไรก็ดี แผลใน กระเพาะอาจเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมามากกว่าปกติ

        อาหารจะคลุกเคล้าและถูกย่อยบางส่วนในกระเพาะอาหาร ทำให้มีสภาพค่อนข้างเหลว เรียกว่า (ไคม์ Chyme) แล้วกระเพาะจะบีบตัวให้อาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดไพโลริกสฟิงค์เตอร์ลงสู่ลำไส้เล็กต่อไป อาหารจะอยู่ในกระเพาะ ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง


อธิบายข้อสอบ
โดยปกติคนจะกลั่นปัสสาวะออกมาประมาณ 750 - 1,500 ซีซี ต่อวัน ขึ้นอยู่กับว่าคนนั้นดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน คนที่กินของเผ็ดหรือทอดจะกระหายน้ำมากกว่าคนปกติ หรือในฤดูหนาวอากาศเย็นน้ำปัสสาวะจะมีมากกว่าฤดูร้อนอากาศร้อนเพราะไม่เสียเหงื่อทางผิวหนัง รสของปัสสาวะจะมีรสเค็มๆ ถ้าปัสสาวะเข้มจะมีรสขมนิดๆ ในน้ำปัสสาวะมีอะไรดี มาดูกัน
1. Urea Nitrogen ปริมาณ 682.00 มิลลิกรัม


2. Urea ปริมาณ 1,459.00 มิลลิกรัม เป็นสารขับปัสสาวะ สารต้านอักเสบ ต้านไวรัส แบคทีเรีย ผิวหนังอ่อนเยาว์ ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหารขณะที่ดิ่มน้ำปัสสาวะเข้าไป

3. Creatinin Nitrogen ปริมาณ 36.00 มิลลิกรัม

4. Creatinin ปริมาณ 97.00 มิลลิกรัม

5. Uric acid nitrogen ปริมาณ 12.30 มิลลิกรัม

6. Uric acid ปริมาณ 36.90 มิลลิกรัม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง

7. Amino nitrogen ปริมาณ 9.70 มิลลิกรัม

8. Ammonia nit. ปริมาณ 57 มิลลิกรัม

9. Sodium ปริมาณ 212.00 มิลลิกรัม

10. Potassium ปริมาณ 137.00 มิลลิกรัม

11. Calcium ปริมาณ 19.50 มิลลิกรัม

12. Magnesium ปริมาณ 11.30 มิลลิกรัม

13. Chloride ปริมาณ 314.00 มิลลิกรัม

14. Total sulphate ปริมาณ 91.00 มิลลิกรัม

15. Inorganic sulphate ปริมาณ 83.00 มิลลิกรัม

16. Inorganic phosphate ปริมาณ 127.00 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ อีก ซึ่งมีดังนี้

1. เอนไซม์ ได้แก่
1.1 Amylase(diastase)
1.2 Lactic dyhydrogenate(LDH)
1.3 Leucine amino-peptdase(LAP)
1.4 Urokinase เป็นสารละลายลิ่มเลือด รักษาเส้นเลือดอุดตัน

2. ฮอร์โมน ได้แก่
2.1 Catecholamines
2.2 17-Catosteroids
2.3 Hydroxysteroids
2.4 Erytropoietine สารกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
2.5 Adenylate cyclase ประสานการทำงานฮอรโมนหลายชนิดในร่างกาย โดยผ่านการทำงานของสาร cyclic AMP
2.6 Prostaglandin เป็นสารประจำถิ่นในเนื้อเยื่อหลายชนิด ควบคุมการอักเสบ การรับรู้ความปวด การจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยการทำงานของมดลูก

3. ฮอรโมนเพศ ช่วยสร้างความกระชุ่มกระชวย ผิวพรรณดี ลดรอยย่นและความหย่อนยาน สร้างสุขภาพจิตที่ดี ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันกระดูกผุ

4. อินซูลิน คนที่เป็นเบาหวานจะได้อินซูลินเข้าไปช่วยเสริมสร้างการเจริญอาหาร

5. Melatonin พบในปัสสาวะตอนเช้า สารนี้ช่วยให้จิตใจสงบ ลดความกระวนกระวาย หลับสบาย
แต่นักวิจัยยังเชื่อว่ายังมีสารอื่นอีกที่ยังไม่รู้จักอีกมาก
จากการทดลองวิจัยของ น.พ.ธรรมาธิกรี รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย ได้ทดลองให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปัสสาวะของตนเอง 200 คน ได้ข้อสรุปดังนี้
1. เซลล์ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น อัตราการเผาผลาญในร่างกายสูงขึ้น
2. ช่วยให้ร่างกายช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้นในผู้ป่วยทุกราย ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดสูงขึ้น

อธิบายข้อสอบ
 การรักษาดุลยภาพแร่ธาตุของปลา
สัตว์ที่อาศัยในน้ำจืด เช่นปลาน้ำจืด มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในร่างกายสูงกว่าแหล่งที่
อยู่อาศัย คือ มีแรงดันออสโมติกของของเหลวในร่างกายสูงกว่าแรงดันออสโมติกของแหล่งที่
อยู่อาศัย น้ำจึงออสโมซิส เข้าตัวปลาตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียเกลือแร่ออกจากร่าง
กาย ดังนั้นในปลาน้ำจืดจึงมีการปรับตัวและกลไกต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย
1. ผิวหนังและเกล็ดทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำผ่านเข้าร่างกายได้
2. บริเวณเหงือกเป็นเยื่อบาง ๆ ที่จะสัมผัสกับน้ำอยู่ตลอดเวลา หรือย่อมมีน้ำปะปนเข้าไป
ด้วย ปลาจึงมีการขจัดน้ำในส่วนที่ไม่ต้องการในรูปปัสสาวะที่ค่อนข้างเจือจาง และ
ปัสสาวะบ่อย
3. เกลือแร่ที่สูญเสียไปนั้น ร่ากายจะมีอวัยวะพิเศษบริเวณเหงือกคอยดูดแร่ธาตุกลับคืนสู่
ร่างกาย โดยกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต

สัตว์ที่อาศัยในทะเล เช่น ปลาทะเล มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในเลือดต่ำกว่าท้องทะเล
คือ มีแรงดันออสโมติกในร่างกายต่ำกว่าน้ำทะเล จึงมีการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงกัน
ข้ามกับปลาน้ำจืด เกลือแร่จึงแพร่ผ่านเข้าออกร่างกายตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียน้ำออก
จากร่างกาย ดังนั้นปลาในทะเล จึงมีการปรับตัวและกลไกต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย
    1. มีผิวหนังและเกล็ดเป็นตัวป้องกันไม่ให้เกลือแร่เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
    2. ดื่มน้ำทะเลมาก ๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ เป็นวิธีการที่สำคัญที่สุด เมื่อดื่มน้ำทะเลมาก ๆ ทั้งน้ำและเกลือแร่จะเข้าสู่ร่างกาย จึงมีการขจัดเกลือแร่ออกจากร่างกาย โดย
      1. ขับถ่ายเกลือแร่ออกทางเหงือก บริเวณเหงือกจะมีอวัยวะพิเศษที่คอยขับเกลือแร่ที่
      เกินความจำเป็นออกจากร่างกาย ซึ่งเกลือแร่จะถูกขับออกโดยใช้พลังงาน เพราะ
      ว่า การขับสารจากความเข้มข้นต่ำไปสู่ด้านที่มีความเข้มข้นสูง
      2.2 เกลือแร่ที่เข้าไปในร่างกาย จะไม่มีการดูดซึม
    3. ไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูง


อธิบายข้อสอบ
คอนแทรกไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ของโปรโตซัว
  โปรโตซัวและสัตว์หลายเซลล์ชั้นต่ำบางชนิด ไม่มีอวัยวะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว ของเสียดังกล่าวสามารถซึมผ่านผิวเซลล์ออกสู่น้ำที่อยู่นอกตัวมันได้โดยตรงอย่างไรก็ตาม มีเซลล์เดียวหลายชนิดที่มีโครงร่างในเซลล์เรียก คอนแทรกไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่สำหรับขจัดของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์  โดยดูดของเหลวที่เป็นของเสียมาสะสมเอาไว้  และเมื่อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยไปจนถึงขีดหนึ่ง จะบีบตัวขับของเหลวในแวคิวโอลออกสู่ภายนอกเซลล์ ดังนั้น คอนแทรกไทล์แวคิวโอล จึงทำหน้าที่กำจัดน้ำที่มีมากเกินต้องการออกนอกร่างกาย และบางส่วนของของเสียที่เกิดจากเมตาโปลิซึมของโปรตีนก็อาจขับออกทางนี้ได้ด้วย

           คอนแทรกไทล์แวคิวโอลพบมากในโปรโตซัวที่อยู่ในน้ำจืดซึ่งจำเป็นจะต้องขจัดน้ำที่ร่างกายดูดเข้ามาจากภายนอกโดยวิธีออสโมซิส เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ให้คงที่อยู่ได้ อัตราการบีบตัวของคอนแทรกไทล์แวคิวโอลขึ้นอยู่กับความดัสออสโมซิสของน้ำที่สัตว์นั้นอาศัยอยู่ กล่าวคือ อัตราการบีบตัวจะลดต่ำลง ถ้าความดันออสโมซิสของน้ำที่มันอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น แต่จะเร็วขึ้นถ้าความดันออสโมซิสของน้ำลดลง
อธิบายข้อสอบ
การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในสิ่งมีชีวิต     สัตว์ทุกชนิดจะมีการย่อยสลายอาหารต่าง ๆ ให้กลายเป็นโมเลกุลสารอาหารขนาดเล็ก แล้วนำเข้าสู่ภายในเซลล์เพื่อไปใช้เผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและพลังงานความร้อนโดยพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทสู่สิ่งแวดล้อม และอีกส่วนหนึ่งจะถูกสะสมไว้ในร่างกายเพื่อรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
     การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมน*และเอนไซม์**ต่าง ๆ ในร่างกายต้องอาศัยระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้นถ้าหากอุณหภูมิในร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป ก็จะมีผลทำให้การทำงานของฮอร์โมนและเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติได้
     อุณหภูมิในร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระบบการควบคุมอุณหภูมิของสิ่งมีชีวิตนั้น ซึ่งถ้าหากจำแนกลักษณะของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยระบบการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายเป็นเกณฑ์ จะสามารถจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิตได้เป็น 2 ประเภท คือ สัตว์เลือดเย็น และสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งแตกต่างกัน ดังนี้
*ฮอร์โมน (hormone) คือ สารเคมีที่สร้างขึ้นจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ แล้วถูกลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนโลหิต เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมลักษณะทางเพศ และควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
**เอนไซม์ (enzyme) คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เป็นสารประกอบจำพวกโปรตีน สามารถลดระดับพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาได้ โดยเอนไซม์แต่ละชนิดจะมีความจำเพาะต่อปฏิกิริยา นอกจากนี้เอนไซม์จะไม่มีผลต่อชนิดของผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น
     1.  สัตว์เลือดเย็น          สัตว์เลือดเย็น ได้แก่ งู ปลาและสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่าง ๆ เป็นสัตว์ที่ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ได้ เมื่ออากาศหรือสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศด้วย เช่น เมื่อสภาพอากาศหนาวเย็น ร่างกายสัตว์เลือดเย็นก็จะมีอุณหภูมิต่ำไปด้วย เป็นต้น
           อุณหภูมิของร่างกายที่ลดต่ำลงจะมีผลทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายผิดปกติไปได้ สัตว์เลือดเย็นจึงต้องมีการปรับตัวด้วยการใช้สภาพแวดล้อมเข้าช่วย เช่น การหนีความร้อนโดยวิธีหลบในรูหรือในโพรงไม้ การผึ่งแดดเพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้น การอพยพจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมหรือการจำศีลให้พ้นจากฤดูหนาวหรือฤดูร้อน เป็นต้น
     2.  สัตว์เลือดอุ่น
           สัตว์เลือดอุ่น เช่น นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมต่าง ๆ และมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับอุณหภูมิภายในร่างกายให้มีดุลยภาพอยู่ได้ โดยวิธีการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายของสัตว์เลือดอุ่น อาจเกิดขึ้นจากลักษณะโครงสร้างทางร่างกาย หรือการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย และจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
           1)  การรักษาอุณหภูมิโดยอาศัยโครงสร้างของร่างกาย โดยสัตว์เลือดอุ่นจะมีการพัฒนาโครงสร้างของผิวหนังเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายจากสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น การมีชั้นไขมันหนาอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง การมีขนปกคลุมร่างกาย หรือการมีโครงสร้างเพื่อลดความร้อนของร่างกายจากสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง เช่น มีต่อมเหงื่อและรูขุมขนตามร่างกาย สำหรับระบายความร้อน เป็นต้น
           2)  การรักษาอุณหภูมิโดยอาศัยการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เป็นการตอบสนองต่ออุณหภูมิที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยมีศูนย์กลางการควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัส ซึ่งกระบวนการทำงานภายในร่างกาย เพื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิจะมีลำดับขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
                1.  การรับรู้ความรู้สึกหนาวหรือร้อน จะเกิดขึ้นที่ตัวรับรู้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (thermoreceptor) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ตัวรับความรู้สึกร้อน (heat receptor) ซึ่งสามารถพบได้ในผิวหนังทุกส่วน โดยจะพบมากที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ส่วนตัวรับความรู้สึกหนาว (cold receptor) จะพบได้มากที่บริเวณเปลือกตาด้านในและบริเวณเยื่อบุในช่องปาก
                2.  การทำงานร่วมกันของศูนย์ควบคุมในสมอง (central intergrator) โดยสมองส่วนไฮโพทาลามัสจะรับสัญญาณความรู้สึกจากตัวรับรู้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทั่วร่างกายแล้วจัดการแปลข้อมูล จากนั้นจึงส่งกระแสประสาทไปสู่อวัยวะหรือตัวแสดงการตอบสนองที่ทำหน้าที่ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกาย เพื่อให้เเกดการเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ ไม่ร้อนและไม่เย็นจนเกินไป
                3.  การแสดงการตอบสนอง (effectors) เมื่อได้รับสัญญาณจากสมองแล้ว ตัวแสดงการตอบสนองต่าง ๆ ในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยให้ระดับอุณหภูมิในร่างกายกลับเข้าสู่สมดุล โดยลักษณะการตอบสนองเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกายอาจมีได้หลายลักษณะ ดังนี้
                    -กระบวนการเมแทบอลิซึม เป็นการเผาผลาญสารอาหารให้เกิดพลังงานความร้อน โดยเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำลง สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะส่งสัญญาณไปกระตุ้นอวัยวะที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมในร่างกายเพื่อเพิ่มกระบวนการเมแทบอลิซึมให้มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น แต่หากร่างกายมีอุณหภูมิสูงสมองส่วนไฮโพทาลามัสก็จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ เพื่อลดกระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายให้ลดลง ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงด้วย
                    -เส้นเลือด เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูง เส้นเลือดจะขยายตัว ทำให้มีการลำเลียงเลือดจากอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายไปยังผิวหนังดีขึ้น ความร้อนในร่างกายจึงถ่ายเทออกสู่ภายนอกได้ดีขึ้น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง แต่ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ เส้นเลือดจะหดตัว ทำให้มีการลำเลียงเลือดไปยังผิวหนังน้อยลง ความร้อนในร่างกายจึงถ่ายเทออกสู่ภายนอกได้น้อยลง ร่างกายจึงเก็บรักษาความร้อนไว้ได้
                    -การหลั่งของเหงื่อ เป็นการระบายความร้อนไปพร้อมกับหยดน้ำเหงื่อ ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
                    -การหดตัวของรูขุมขน การหดตัวของกล้ามเนื้อโคนขน มีผลทำให้รูขุมขนหดเล็กลง จึงช่วยลดการสูญเสียความร้อนทางรูขุมขน ทำให้เกิดการอาการขนลุก
                    -การหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการสั่นจึงได้พลังงานความร้อนมาชดเชยความร้อนที่สูญเสียไป
          3)  การรักษาอุณหภูมิโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การรักษาอุณหภูมิโดยโครงสร้างของร่างกายและการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายไม่เพียงพอต่อการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย สัตว์ต่าง ๆ จึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้สามารถใช้สภาพแวดล้อมเข้ามาช่วยในการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย เช่น การนอนแช่น้ำ การอพยพไปสู่พื้นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกว่า การใส่เสื้อกันหนาวของมนุษย์ เป็นต้น
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2874

อธิบายข้อสอบ
นมแม่ – อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย
บางคนบอกว่า “นมก็คือนม” ลูกสัตว์ทุกตัวก็กินนมทั้งนั้น แต่หารู้ไม่ว่า นมของสัตว์ถูกสร้างขึ้นโดยธรรมชาติเพื่อการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด  เพื่อให้เติบโตและอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน


ตัวอย่างเช่น แม่แมวน้ำจะสร้างน้ำนมที่มีไขมันสูงมาก เพื่อสร้างชั้นไขมันให้กับร่างกายของลูกแมวน้ำ ทำให้ลูกแมวน้ำอยู่รอดท่ามกลางความหนาวเย็นได้ เช่นเดียวกัน พัฒนาการทางสมองเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ นมแม่จึงมีคุณประโยชน์ในการเจริญเติบโตของสมองของลูกน้อย โดยพื้นฐานแล้วนั้น น้ำนมของสัตว์มีคุณค่าทางอาหารที่ประกอบไปด้วย ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ หากเมื่อเปรียบเทียบคุณค่าของนมผงดัดแปลง (นมวัว) กับน้ำนมคน (นมแม่) แล้วนั้น แม่ๆหลายท่านจะยิ่งรักนมแม่ เพราะว่า…


โภชนาการแสนพิเศษ เพื่อคนพิเศษหลังคลอด ระดับฮอร์โมนในตัวแม่จะเปลี่ยนแปลงและร่างกายจะสร้างน้ำนมขึ้น หัวน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นน้ำนมสีขาวซึ่งอุดมไปด้วยไขมัน โปรตีนต่างๆ น้ำตาลแล็คโตส วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ และน้ำ ซึ่งในน้ำนมแม่นั้น สารอาหารต่างๆมีอยู่ในระดับที่พอเหมาะ เหมาะสมสำหรับทารกแต่ละวัย โปรตีนและไขมันก็แตกต่างไปจากไขมันและโปรตีนจากนมสัตว์อื่นๆ นี่คือเหตุผลหลักว่า ทำไมนมวัวหรือนมผงดัดแปลงไม่สามารถเทียบกับนมแม่ได้




** โปรตีนคุณภาพ


โปรตีนในนมแม่แตกแต่งไปจากนมสัตว์อื่น แม้ว่านมแม่มีโปรตีนต่ำกว่านมวัว แต่ก็มีอยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองทารก การเจริญเติบโตของลูกคนจะช้ากว่าลูกสัตว์อื่น ซึ่งเป็นการให้เวลาให้สมองและร่างกายแข็งแรงพอ และมีการพัฒนาการทางสังคมโดยการได้ใกล้ชิดกับแม่ ลูกวัวต้องโตเร็วและหากินด้วยตนเองในทุ่งหญ้า แต่ลูกคนต้องค่อยๆเติบโต ค่อยๆพัฒนาและเรียนรู้การดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่น


แม้ว่านมแม่มีโปรตีนต่ำกว่านมวัว กรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนในนมแม่นั้นสำคัญยิ่ง กรดอะมิโน “ทอรีน” พบได้มากในนมแม่ ช่วยอย่างยิ่งในการสร้างสมองและจอตาของทารก การให้ทารกกินนมแม่จึงเป็นการช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองลูก นี่คือเหตุผลหลัก ที่ผู้ผลิตนมผงพยายามเติมทอรีนสังเคราะห์ในนมผงดัดแปลง เพราะนมสัตว์ไม่เหมือนนมแม่!!


นมทั่วไปมีโปรตีนชนิดเวย์ (whey) และ casein protein เป็นส่วนประกอบ ซึ่ง casein proteins จะย่อยยากและจับตัวเป็นก้อนในกระเพาะ นมวัวมี casein protein เป็นส่วนมาก แต่ในทางกลับกัน นมแม่จะมี whey protein มากกว่า อีกทั้ง casein protein ในนมแม่ก็จะย่อยง่ายกว่า และดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ทำให้ทารกที่กินนมแม่หิวเร็วกว่าทารกที่กินนมวัว ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว การที่ทารกต้องหิวบ่อยเป็นกลไกที่จะทำให้ลูกอยู่ใกล้ชิดกับแม่




** ไขมันที่ย่อยสลายได้เอง


เอ็นไซม์ไลเปส (Lipase) ในนมแม่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นมแม่ย่อยง่าย ไลเปสจะช่วยในการย่อยสลายไขมันในนมแม่ ทำให้การดูดซึมของสารอาหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไลเปสจะช่วยแปลงไขมันในนมแม่ให้เป็นพลังงานกับทารก ทำให้ได้พลังงานสูงแต่ย่อยง่าย นมแม่จึงดีที่สุดสำหรับเด็กเกิดก่อนกำหนด เพราะเด็กที่เกิดก่อนกำหนดนั้นต้องการพลังงานมาก แต่ระบบการย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์




** สารอาหารที่เปลี่ยน เมื่อความต้องการเปลี่ยน


ไขมันในนมแม่จะเปลี่ยนแปลงตลอดไม่เหมือนเดิม เมื่อลูกเริ่มต้นดูดนม น้ำนมส่วนหน้า (foremilk) จะมีไขมันต่ำแต่มีปริมาณน้ำสูง ช่วยดับกระหายได้ดี แต่น้ำนมส่วนหลัง (hind milk) จะมีไขมันสูง ทารกที่ได้ดูดนมบ่อยจะได้รับน้ำนมส่วนหลังมากกว่า ปริมาณแคลลอรี่ที่สูงในน้ำนมส่วนหลังจะทำให้ร่างกายโตเร็วในช่วง growth spurt ดังนั้นตามหลักชีววิทยาแล้ว ทารกควรที่จะได้ดูดนมบ่อยๆเมื่อต้องการ ไม่ใช่ตามตารางที่ตั้งไว้




** ไขมันอันชาญฉลาด


ไขมันที่พิเศษในนมแม่ช่วยเสริมสร้างสมองของลูก ในช่วงที่ทารกเติบโต เส้นประสาทที่ประกอบด้วย myelin จะรับส่งสัญญาณระหว่างสมองและร่างกาย myelin จะสมบูรณ์แข็งแรงเมื่อได้รับกรดไขมัน linoleic และ linolenic มีมากในนมแม่



** วิตามันและแร่ธาตุ



ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่ระบุข้างกระป๋องนมผงนั้นไม่สามารถที่จะเทียบสิ่งที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติในนมแม่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างยิ่งคือ ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายของทารกสามารถดูดซึมจากนมแม่และสามารถนำไปใช้ได้ ไม่ใช่ปริมาณที่มีอยู่ในนม


เมื่อนึกถึงแร่ธาตุหลักที่สำคัญ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และ เหล็ก ในนมแม่มีปริมาณที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับนมผงดัดแปลง แต่แร่ธาตุเหล่านี้ในนมแม่สามารถดูดซึมได้ถึง 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากแร่ธาตุสังเคราะห์ในนมผง ที่สามารถดูดซึมได้เพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นผู้ผลิตนมผงจึงต้องเพิ่มแร่ธาตุเหล่านี้ เพราะการดูดซึมนั้นต่ำกว่า ส่งผลให้ราคาต่อหนึ่งประป๋องสูงขึ้นด้วย


ลำไส้อันบอบบางของทารกจะต้องถูกทำงานอย่างหนักเพื่อขจัดสิ่งที่ “เกิน” ความต้องการ ในขณะเดียวกัน การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปกลับกระตุ้นให้แบคทีเรียชนิดไม่ดี (ก่อให้เกิดโรค) เจริญพันธุ์ได้ดีมากขึ้น นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งที่อุจจาระของทารกที่กินนมผง แข็งกว่าและมีกลิ่นที่รุนแรงกว่าทารกที่กินนมแม่


ในขณะเดียวกัน นมแม่มี “ตัวช่วย” ที่จะเพิ่มความสามารถในการดูดซึม เช่น วิตามินซีในนมแม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็ก และสังกะสี (Zinc) ทั้งนี้สารอาหารที่มีในนมแม่จะได้ถูกดูดซึมได้มาก แทนที่จะถูกขับถ่ายออกมาเสียเปล่า



** ฮอร์โมนและเอ็นไซม์



เอ็นไซม์อื่นๆ นอกจากไลเปส (lipase) ที่มีอยู่ในนมแม่จะช่วยให้ร่างกายของทารกย่อยอาหาร epidermal growth factor ยังสามารถช่วยให้การสร้างเนื้อเยื่อในระบบย่อยอาหาร และในส่วนอื่นของร่างกาย อีกทั้งฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีอยู่ในนมแม่จะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ การเจริญเติบโต และสรีรวิทยาของทารก ทั้งนี้ผลของการศึกษาแม้จะไม่ยังเด่นชัดแต่ก็มีผลประทบอย่างมีนัย นอกจากนี้ ทารกที่ได้รับนมแม่จะได้รับทั้งประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งทางกายและจิตใจ
ที่มา:http://mothercorner.com/index.php?topic=484.0


อธิบายข้อสอบ
วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย มีกี่จำนวน
มี 3 จำนวนใหญ่ๆ ดังนี้
พวกที่ 1 toxoid เป็นวัคซีนที่นำมาจากพิษของแบคทีเรียโดยการสกัดเอกพิษของแบคทีเรีย แล้วมาทำให้พิษหมดไป แต่มีความสามารถในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต้านพิษที่เรียกว่า antitoxin ขึ้น วัคซีนพวกนี้จะใช้ในกรณีที่โรคที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากพิษของแบคทีเรีย ไม่ได้เกิดจากตัวแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคคอตีบ หรือโรคบาดทะยัก

พวกที่ 2 killed vaccine (วัคซีนที่เชื้อตายแล้ว) เป็นวัคซีนที่ผลิตมาจากแบคทีเรียหรือไวรัสที่ถูกทำให้ตายแล้ว แต่เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้น ตัวอย่างเช่น วัคซีนชนิดนี้ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

พวกที่ 3 Live attenuated vaccine (วัคซีนที่มีชีวิต) เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง เมื่อฉีดเข้าไปจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ตัวอย่างวัคซีนประเภทนี้ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรควัณโรค วัคซีนป้องกันหัดคางทูม หัดเยอรมัน

  1. วิธีการให้วัคซีนมีกี่แบบ
    1. การให้วัคซีนเข้าไปในร่างกายที่ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 4 แบบด้วยกันคือ
    2. การกิน (oral route) ใช้ในกรณีที่ต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เช่น ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกันในลำไส้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนป้องกันโรคทัยฟอยด์ชนิดกิน
    3. การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal route) วิธีนี้มักจะใช้เมื่อต้องลดจำนวนแอนติเจนลด การฉีดด้วยวิธีนี้ทำได้ยาก ผู้ฉีดต้องมีความชำนาญ เช่นวัคซีนมีซีจี
    4. การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous route) มักจะใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น วัคซีนป้องกันหัด คางทูม หัดเยอรมัน
    5. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramascular route) ใช้เมื่อต้องการให้การดูดซึมดี บริเวณนิยมฉีดมากที่สุด คือ บริเวณต้นแขน เพราะการดูดซึมดีที่สุด บริเวณนี้ไขมันไม่มาก เลือดมาเลี้ยงดี นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของแขนช่วยทำให้ดูดซึมดีขึ้น แต่ในเด็กเล็กจะนิยมฉีดบริเวณตันขาเนื่องจากแขนยังมีกล้ามเนื้อน้อย ส่วนบริเวณก้นไม่นิยมฉีดเพราะการดูดซึมต่ำ นอกจากนี้บางรายที่อ้วนจะฉีดเข้าไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ เลือดมาเลี้ยงบริเวณก้นน้อย วัคซีนที่ฉีดวิธีนี้ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ที่มา:http://www.pharm.chula.ac.th/clinic101_5/article/VACCINE.html


อธิบายข้อสอบ
การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (อังกฤษ: gametogenesis) คือกระบวนการอย่างหนึ่งในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นการแบ่งเซลล์และทำให้เกิดความแตกต่างกันของเซลล์แม่ (gametocyte) ที่มีโครโมโซมสองชุด (diploid) หรือชุดเดียว (haploid) ให้กลายเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ที่มีโครโมโซมเพียงชุดเดียว การเกิดเซลล์สืบพันธุ์เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) หรือไมโทซิส (mitosis) ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ในสัตว์

แผนภาพแสดงการแบ่งตัวของเซลล์แม่จนได้เซลล์สืบพันธุ์
สัตว์ประเภทต่างๆ จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยตรงด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสด้วยอวัยวะที่เรียกว่าต่อมบ่งเพศ (gonad) สัตว์สปีชีส์หนึ่งๆ ที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศมีรูปแบบการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
ถึงแม้ใช้อวัยวะที่แตกต่างกันแต่กระบวนการนั้นยังมีรูปแบบที่เหมือนกัน กล่าวคือ เซลล์ตั้งต้นจะเรียกว่าแกมีโทโกเนียม (gametogonium) จะแบ่งตัวแบบไมโทซิสเข้าสู่ช่วงแกมีโทไซต์ระยะแรก (primary gametocyte) และแบ่งตัวแบบไมโอซิสเข้าสู่แกมีโทไซต์ระยะที่สอง (secondary gametocyte) แล้วแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอีกครั้งจนได้แกมีทิด (gametid) จำนวน 4 เซลล์ต่อเซลล์แม่ 1 เซลล์ สุดท้ายแกมีทิดจะเจริญไปเป็นสเปิร์มหรือไข่ ซึ่งเป็นแกมีต (gamete) ในขั้นตอนสุดท้าย พอสรุปได้ดังนี้
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C


อธิบายข้อสอบ
มี 2 ประเภท คือ
1. Deoxyribonucleic acid (DNA)   
2. Ribonucleic acid (RNA)
   :: Deoxyribonucleic acid (DNA
     เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ซึ่งเป็นกรด
นิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน
สัตว์  พืช  เชื้อรา  แบคทีเรีย  ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
ไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยัง
สิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
     ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของ
นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล  ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบ
ด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (ด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน(adenine: A)
ไทมีน (thymine:T)  ไซโทซีน (cytosine:C)  และกัวนีน (guanine:G) ขาของบันไดสองข้างหรือ
นิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T  และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของ
ดีเอ็นเอ)    และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ    เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสใน
ดีเอ็นเอนั่นเอง
     ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้าง
อย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับ
โครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
   ข้อสรุปเกี่ยวกับ DNA ดังนี้


1.องค์ประกอบเบสของ DNA จากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดจะแตกต่างกัน
2.องค์ประกอบเบสของ
DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะเหมือนกัน แม้ว่าจะนำมาจากเนื้อเยื่อต่างกันก็ตาม
3.องค์ประกอบเบสของ
DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีความคงที่ ไม่แปรผันตามอายุ อาหาร หรือสิ่งแวดล้อม
4.ใน
DNA ไม่ว่าจะนำมาจากแหล่งใดก็ตาม จะพบ A=T , C=G หรือ purine = pyrimidine เสมอ

   :: Ribonucleic acid (RNA
     อาร์ เอน เอ เป็นโพลีไรโบนิวคลีโอไทด์ที่มีนิวคลีโอไทด์มาเชื่อมกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเธอร์ในทิศ 5´ - 3´ เหมือน ดี เอน เอ สิ่งมีชีวิตบางชนิดใช้ อาร์ เอน เอ เป็นสารพันธุกรรมเช่นไวรัสเอดส์ แต่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงเช่นมนุษย์ อาร์ เอน เอ ทำหน้าที่หลายอย่างแบ่งตามชนิดได้ตามนี้ Ribosomal RNA (rRNA)  rRNA เป็น อาร์ เอน เอ ที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซม ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงพบ rRNA อยู่ ๔ ขนาดคือ 28S, 18S, 5.8S และ 5S rRNA ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน  


Messenger RNA (mRNA) 
   mRNA เป็นตัวถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม จาก ดี เอน เอ ออกมาเป็นโปรตีน เมื่อเซลล์ต้องการสร้างโปรตีนขึ้นมาใช้งาน เซลล์จะคัดลอก gene สำหรับสร้างโปรตีนนั้นออกมาเป็น mRNA ดังนั้น mRNA จึงเกิดขึ้นในนิวเคลียส เมื่อมี mRNA แล้ว จะมีกระบวนการขนส่ง mRNA ออกจากนิวเคลียสสู่ไซโตพลาสม ซึ่งเป็นที่สำหรับสังเคราะห์โปรตีน
 Transfer RNA (tRNA) 
  tRNA ตัวมันจะมีกรดอะมิโนมาเกาะอยู่ ทำหน้าที่นำกรดอะมิโนมาเรียงร้อยต่อกันเป็นโปรตีน ชนิดของกรดอะมิโนที่จะนำมาต่อนี้ถูกกำหนดโดยรหัสพันธุกรรมบน mRNA ส่วน tRNA มีตัวช่วยอ่านรหัสเรียกว่า anticodon 
ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=125&post_id=74794&title=(%AA%D5%C7%D0%C7%D4%B7%C2%D2)-DNA-%CA%D2%C3%BE%D1%B9%B8%D8%A1%C3%C3%C1-%A4%D7%CD%CD%D0%E4%C3-%E3%A4%C3%CD%C2%D2%A1%C3%D9%E9%E0%A2%E9%D2%C1%D2%CD%E8%D2%B9%CA%D4...-


อธิบายข้อสอบ
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1. เพดดีกรี (pedigree) หรือพงศาวลี เป็นแผนผังในการศึกษาพันธุกรรมของคน ซึ่งแสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัวดังแผนผัง

แผนผังแสดงสัญลักษณ์ของเพดดีกรี
2. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยยีนบนออโทโซม (autosome) และยีนบนโครโมโซมเพศ (sex chromosome) ในร่างกายคนมีโครโมโซม 46 แท่ง มาจัดเป็นคู่ได้ 23 คู่ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1) ออโทโซม (autosome) คือ โครโมโซม 22 คู่ คู่ที่ 1 - คู่ที่ 22 เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย
2) โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ โครโมโซมอีก 1 คู่ (คู่ที่ 23) สำหรับในเพศหญิงและเพศชายจะต่างกัน โดยเพศหญิงจะเป็นแบบ XX เพศชายจะเป็นแบบ XY โดยโครโมโซม Y จะมีขนาดเล็กกว่าโครโมโซม X
# ยีนบนออโทโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากยีนบนออโทโซม แบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
2.1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนเด่นบนออโทโซม การถ่ายทอดนี้จะถ่ายทอดจากชายหรือหญิงที่มีลักษณะทางพันธุ์แท้ ซึ่งมียีนเด่นทั้งคู่หรือมียีนเด่นคู่กับยีนด้อย นอกจากนี้ ยังมีลักษณะผิดปกติอื่นๆ ที่นำโดยยีนเด่น เช่น คนแคระ คนเป็นโรคท้าวแสนป


ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432210100/01.htm


อธิบายข้อสอบ

ที่มา:


อธิบายข้อสอบ

ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม

ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. ความผิดปกติของออโทโซม (โครโมโซมร่างกาย)
2.ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
ความผิดปกติของออโทโซม
ความผิดปกติของออโทโซม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย มีความผิดปกติ 2 ชนิด คือ
1. ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง
เพศหญิงจึงมีโครโมโซม 45+XX
เพศชายจึงมีโครโมโซมแบบ 45+XY


ตัวอย่างความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่เกินมา มีดังนี้
1) กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome) เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมโดยคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้เด็กในระยะแรกเกิดจะมีตัวอ่อนปวกเปียก ศีรษะแบน ดั้งจมูกแบน ตาห่าง และตาชี้ขึ้นบน ใบหูผิดรูป ปากปิดไม่สนิท มีลิ้นจุกปาก นิ้วมือสั้นป้อม เส้นลายมือขาด ที่เท้ามีช่องกว้างระหว่างนิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วที่สอง ลายเท้าผิดปกติ อาจมีหัวใจพิการแต่กำเนิด และปัญญาอ่อน อายุสั้น พ่อแม่ที่มีอายุมากมีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์
รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการดาวน์


2) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome) เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมโดยคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏจะมีลักษณะหัวเล็ก หน้าผากแบน คางเว้า หูผิดปกติ ตาเล็ก นิ้วมือบิดงอ และกำเข้าหากันแน่น หัวใจพิการ ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีลักษณะปัญญาอ่อนร่วมอยู่ด้วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะเสียชีวิตก่อนอายุ 1 ขวบ ดังรูป
รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด


ที่มา:


อธิบายข้อสอบ
ตาบอดสี
โรคตาบอดสี พบได้ประมาณ 8% ของประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิด (Congenital color vision defects) และกลุ่มที่เป็นภายหลัง (Acquired color vision defects) ซึ่งมักพบกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดมากกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลัง

        เมื่อพิจารณาในกลุ่มที่เป็นตั้งแต่เกิด กลุ่มย่อยที่พบได้บ่อยที่สุด คือ กลุ่มที่บอดสีเขียว-แดง ซึ่งพบได้ประมาณ 5-8% ในผู้ชาย และพบเพียง 0.5% ในผู้หญิง (พบได้บ่อยในผู้ชาย) ส่วนกลุ่มที่เป็นในภายหลัง มักพบเป็นการบอดสีน้ำเงิน-เหลือง และพบได้พอๆ กันทั้งชายและหญิง ซึ่งจำนวนคนที่เป็นในกลุ่มนี้น้อยกว่ากลุ่มที่เป็นแต่กำเนิดมาก
สาเหตุ       การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและมักเป็นแบบแดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากยีนที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดงและสีเขียวนั้น (red-pigment gene , green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติ แน่นอนว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่า เนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจยีนนี้แถมมาด้วย ก็จะแสดงอาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป
ภาพที่มองได้เป็นอย่างไร
       เมื่อพูดคำว่า "ตาบอดสี" หลายท่านคงเข้าใจว่า คนที่เป็นไม่สามารถรับรู้สีอะไรได้เลย เหมือนกับดูโลกในบรรยากาศของ Casablanca , Saving private Ryan หรือ Schindler’s list อยู่ตลอดเวลา (ภาพขาว-ดำ ไม่มี subtitle) แต่จริงๆ แล้วมักไม่เป็นอย่างนั้น คนที่บอดสีจนมองเห็นโลกเป็นภาพขาว-ดำนั้นพบได้น้อยมาก และมักมีปัญหาสายตาบกพร่องอื่นๆ ร่วมด้วย คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตาบอดสีมักจะรับรู้สีได้ แต่แยกแยะสีที่มีความคล้ายกันได้น้อยลง เช่น คนที่ตาบอดสีแดง-เขียว จะแยกสีชมพูและเหลืองได้ยาก แต่เมื่อเห็นสีแดงหรือสีเขียวก็สามารถแยกแยะกันได้ทันที คนที่ตาบอดสีน้ำเงิน-เหลือง จะแยกสีน้ำเงินเข้มกับสีเขียวได้ยากกว่าปกติ แต่ไม่มีปัญหาเมื่อวางสีเขียวเทียบกับสีแดง เป็นต้น
       ดังนั้น ในคนที่เป็นตาบอดสีแทบทั้งหมดจะไม่มีปัญหาในการแยกแยะสัญญาณจราจร และมักไม่มีปัญหาในการประกอบอาชีพทั่วไป หรือมีปัญหาบ้างก็น้อยมาก ไม่ถึงกับงานอะไรไม่ได้เลย
ที่มา:http://www.iam.rtaf.mi.th/index.php?option=com_content&view=article&id=67&Itemid=54
อธิบายข้อสอบ
ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)    Group A    = มียีนส์ AO หรือ AA
   Group B    = มียีนส์ BO หรือ BB
   Group AB  = มียีนส์AB
   Group O    = มียีนส์ OO


ทีนี้มาดู ว่า พ่อ กับแม่ แม่กรุ๊ปใด ให้ลูก กรุ๊ปใด ได้บ้าง
กรณีที่ 1 ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA ร้อยเปอร์เซนต์ (Group A ทั้งหมด)
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างล่ะครึ่ง( แต่ก็เป็น Gr A ทั้งหมด)
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างล่ะ 25% (เป็น Gr A 75% กับ O 25%)

ในทางปฏิบัติ คนกรุ๊ป A เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ Gr A หรือ O เท่านั้น
กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป B เหมือนกัน
ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ A ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก A เป็น B เท่านั้น

กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ Gr B และ O เท่านั้น
กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
AB+AB จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างล่ะ 25%

กรณีนี้จะได้ลูก Gr AB 50% และ A กับ B อย่างล่ะ 25% ไม่มีกรุ๊ป O เลย
กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป O เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
OO+OO จะได้ลูก เป็น OO 100%

กรณีนี้จะได้แต่ลูกกรุ๊ป O เท่านั้น ไม่มีกรุ๊ปอื่นปน
กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายกรุ๊ป B จะเป็นได้ดังนี้
AA + BB = ลูกได้ AB ร้อยเปอร์เซ็นต์(Gr AB ทั้งหมด)
AO + BB = ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งนึง (Gr AB กับ Gr B อย่างล่ะครึ่ง)
AA + BO = ลูกได้ AB กับ AO อย่างล่ะครึ่ง (Gr AB กับ Gr A อย่างล่ะครึ่ง)
AO+BO = ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างล่ะ 25% ( มีได้ทุกกรุ๊ป อย่างล่ะ 25% )

กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง Gr A อีกคน B จะมีลูกได้ ทุกกรุ๊ปเลย
กรณี 6 ฝ่ายหนึ่งกรุ๊ป A อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
AA + AB จะได้ลูก AA และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง)
AO +AB จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป A 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป B อย่างล่ะ 25%)

กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น A อีกฝ่ายเป็น AB จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O
กรณีที่ 7 ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย B จะเป็นได้ดังนี้
AB + BB จะได้ลูก BB และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง)
AB +BO จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป B 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป A อย่างล่ะ 25%)

กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่ายเป็น B จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O เหมือนกัน กับกรณีที่ 4
กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง Gr AB อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AB + OO จะได้ AO กับ BO

กรณีนี้จะได้ลูก กรุ๊ป A กับ B ไม่มี AB และ O
กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง Gr A อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AA + OO ได้ AO ทั้งหมด (กรุ๊ป A ทุกคน)
AO + OO ได้ AO กับ OO อย่างละ50% (

กรณีนี้จะได้ลูก Gr A กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป B กับ AB
กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง Gr B อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
BB + OO ได้ BO ทั้งหมด (กรุ๊ป B ทุกคน)
BO + OO ได้ BO กับ OO อย่างละ50%

กรณีนี้จะได้ลูก Gr B กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป A กับ AB


สรุปจากสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O

ที่มา:http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=471368&Ntype=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น